เมนู

ด้วยความเพียรนั้น ท่านเรียกว่า ทัฬหนิกมะ เพราะมีความเพียรเครื่อง
ก้าวออกอันมั่น.
บทว่า ถามพลูปปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังแรงกายและ
กำลังญาณในขณะมรรค. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพละกำลังอัน
เป็นเรี่ยวแรง ท่านอธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังญาณอันมั่นคง.
ด้วยบทว่า ถามพลูปปนฺโน นี้ ท่านแสดงถึงความประกอบพร้อม
ด้วยวิปัสสนาญาณแห่งความเพียรนั้น จึงทำปธานคือความเพียรเครื่อง
ประกอบให้สำเร็จ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาททั้ง 3 ด้วยความเพียร
อันเป็นชั้นต้น ชั้นกลางและชั้นสูง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบพรรณนาอารัทธวีริยคาถา

พรรณนาปฏิสัลลานคาถา


คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้เป็นต้น มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร ?
การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ เหมือนดังอาวรณคาถาไม่มีความพิเศษไร ๆ.
ส่วนพรรณนาอรรถแห่งคาถานี้มีความว่า การกลับเฉพาะจากหมู่สัตว์และ
สังขารนั้น ๆ หลีกเร้นอยู่ ชื่อว่า ปฏิสัลลานะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีปกติ
เสพ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง คือความเป็นผู้เดียว ได้แก่ กายวิเวก สงัดกาย.
จิตตวิเวก สงัดจิต ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึกและ
เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ.
ในคำว่า ฌาน นั้น สมาบัติ 8 เรียกว่า ฌาน เพราะเผากิเลสดังข้าศึก